ธัญญรัตน์ นาคเอก

ธัญญรัตน์ นาคเอก

เมนู

ความรู้ใกล้ตัว

ระวัง 4 โรคยอดฮิตของเด็กๆ

หน้าร้อนต้องระวัง 4 โรคยอดฮิตของเด็ก

โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ

การป้องกัน : เลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ เครื่องดื่มสะอาด และดูแลสุขอนามัยอื่น ๆ เช่น ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง รวมถึงดูแลของใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ

โรคลมแดดหรือโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)

การป้องกัน :  ดื่มน้ำบ่อย ๆ ไม่ดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวมระบายอากาศได้ดี อยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือบริเวณที่อากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

โรคผดร้อน

การป้องกัน : สวมเสื้อผ้าที่หลวมระบายอากาศได้ดี อยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือบริเวณที่อากาศถ่ายเท อาบน้ำบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการทาครีมหรือโลชั่นที่มีประวัติว่าแพ้

โรคไข้หวัดใหญ่

การป้องกัน : ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรืออากาศไม่ถ่ายเท หมั่นล้างมือดูแลสุขอนามัย ทั้งนี้ ควรพิจารณาฉีดวัคซีน ทุกช่วงอายุ ตามข้อบ่งชี้และความเสี่ยงทางการแพทย์

ปกป้องลูกน้อยไม่ให้เจ็บป่วย อย่าให้ความร่าเริงของเด็ก ๆ ต้องมาสะดุดเพราะ “โรคหน้าร้อน”

โรคทางเดินหายใจ RSV

RSV หรือชื่อเต็ม Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเชื้อไวรัสอาจทำให้มีเสมหะมากทำให้ปอดเกิดอาการอักเสบ และทำให้เยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจต่างๆ บวม จึงทำให้เด็กมีอาการเหนื่อยหอบและหายใจลำบาก

 RSV เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ ในร่างกาย เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ การไอ หรือสัมผัสเชื้อโรค โดยผู้ป่วยจะรับเชื้อไวรัสจากฝอยละอองจากการไอ จาม ของผู้ติดเชื้อ หรือสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู ของเล่น เป็นต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังสัมผัสถูกเชื้อในระยะเวลา 4-6 วัน และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3 – 8 วัน โดยทั่วไปอาการจะเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อาการจำเพาะของเชื้อนี้มักพบในเด็กเล็กคือหลอดลมฝอยอักเสบ เริ่มแรกจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่นไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จนถึงอาการรุนแรง เช่น หายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม ได้ยินเสียงปอดผิดปกติ เสียงหายใจมีเสียงวี้ด รับประทานอาหารได้น้อยและซึม ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ และยังไม่มีวัคซีนรักษา

โรคนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกวัย แต่จะรุนแรงมากในเด็กเล็ก เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปรวมไปถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติบกพร่อง

 เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและสามารถเป็นซ้ำได้อีก การระวังไม่ให้เด็กติดเชื้อไวรัสจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด สามารถทำได้โดยการหมั่นล้างมือให้เด็กบ่อยๆ รวมถึงผู้ปกครองหรือคนรอบข้างก็ควรล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือดูแลเด็ก หลีกเลี่ยงการจูบ หอมเด็ก และต้องใส่หน้ากากอนามัยป้องกันหากรู้สึกไม่สบาย หมั่นทำความสะอาดของเล่น ของใช้เด็ก และไม่พาเด็กไปสถานที่ที่มีคนเยอะ เท่านี้ก็สามารถลดโอกาสสัมผัสเชื้อนี้รวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ ได้

อีกหนึ่งวิธีที่เป็นทางเลือกสำหรับการฆ่าเชื้อบนพื้นผิววัตถุ ของใช้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกการสัมผัสสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อ โดยไม่ทิ้งสารตกค้างใดๆ เครื่องฆ่าเชื้อด้วยรังสีUVC สามารถยับยั้งการทำงานของเชื้อโรค ไวรัส และแบคทีเรียได้ถึง99.99%ได้รับการรับรองระดับสากล และเป็นวิธีที่วงการแพทย์ใช้กันมานานแล้วสำหรับฆ่าเชื้อโรคในอุปกรณ์การแพทย์และสิ่งของต่างๆ โรงพยาบาล คลีนิค สถานเสริมความงาม โรงเรียน สำนักงาน ร้านค้า เลือกใช้ UVC Trolley  รถเข็นยูวีซี สามารถเคลื่อนย้ายไปยังห้องต่างๆ ได้ ครอบคลุมพื้นที่ได้ตั้งแต่ 50-100 ตารางเมตร ใช้งานง่าย มีรีโมตคอนโทรล และมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต สะดวก ปลอดภัย ไร้กังวล

โรคอ้วนในเด็ก

โรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในเด็ก เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว

โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมเกินปกติจนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ

ในประเทศไทย จากผลการสำรวจข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธาณสุข ปี พ.ศ.2564 พบเด็กวัยเรียน (อายุ6-14ปี) มีน้ำหนักเกินและอ้วนร้อยละ 11.09

สาเหตุโรคอ้วน

ปัจจัยด้านพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น บิดามารดาอ้วน, มารดาเป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์, ทารกแรกเกิดน้ำหนักมาก, โรคต่อมไร้ท่อ, โรคทางพันธุกรรมพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การบริโภคอาหารไขมันสัตว์ อาหารแป้งและน้ำตาลสูง อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว เป็นต้นการออกกำลังกายและพฤติกรรมไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ตัวอย่างเช่น เด็กที่ไม่ออกกำลังกาย ดูโทรทัศน์ เล่นวิดีโอเกมส์ ทำให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างพลังงานที่ได้จากอาหาร และพลังงานที่ใช้ของร่างกาย

 

การวินิจฉัยโรคอ้วน คำนวณจาก

การวัดน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง แบ่งตามอายุ และเพศ ที่มีค่าสูงมากกว่า 3 เท่าของค่าเบี่ยงมาตรฐานการวัดดัชนีมวลกาย (น้ำหนักเทียบกับส่วนสูง) มีค่าสูงมากกว่า 2 เท่าของค่าเบี่ยงมาตรฐาน

ภาวะแทรกซ้อนโรคอ้วนในเด็ก

ระบบหายใจ เช่น ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น นอนกรน โรคภูมิแพ้ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวาน กลุ่มอาการเมตาบอลิกระบบทางเดินอาหารและตับ เช่น ภาวะกรดไหลย้อน ภาวะไขมันสะสมในตับ โรคนิ่วในถุงน้ำดีระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ขาโก่ง โรคหัวกระดูกสะโพกเลื่อน กระดูกหักง่ายความผิดปกติของผิวหนัง เช่น ผิวหนังมีผื่นสีน้ำตาลดำหนาบริเวณคอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ รอยแตกบริเวณหน้าท้อง และผื่นแดงบริเวณข้อพับเกิดจากการเสียดสีสภาพจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ถูกล้อเลียน ขาดความเชื่อมั่น แยกตัวจากสังคม

การรักษา

เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตปกติ และลดภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน ต้องอาศัยความร่วมมือของเด็กและครอบครัว ในด้านโภชนาการ พฤติกรรม และจิตใจ

ปรับลดอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารประเภทแป้ง รสหวาน ไขมันอิ่มตัว และอาหารรสเค็มเพิ่มอาหารชนิดกากใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ผักผลไม้ไม่หวานบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่เป็นอาหารหลากหลาย และบริโภคครบ 3 มื้อ เป็นเวลา ไม่งดอาหารมื้อเช้า ไม่กินอาหารมื้อดึกหลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด ผัดน้ำมัน เปลี่ยนเป็นอาหารชนิดต้ม นิ่ง ตุ๋น หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันและอาหารจานด่วนควรดื่มนมจืดพร่องมันเนยหรือไขมันต่ำ งดน้ำหวาน น้ำอัดลม รวมทั้งขนมหวาน ขนมขบเคี้ยวออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำ วันละ 30-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง โดยกิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยเด็กอายุ 2-6 ปี เช่น วิ่ง กระโดดเชือก เตะลูกบอล ปีนป่ายเครื่องเล่น ว่ายน้ำ เป็นต้นอายุ 7-10 ปี เช่น โยนรับลูกบอล เตะลูกบอล ปั่นจักรยาน แบดมินตัน ปิงปอง เทนนิส เป็นต้นอายุ 10 ปีขึ้นไป เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก เป็นต้นลดกิจกรรมที่เคลื่อนไหว เช่น กำหนดเวลาดูโทรทัศน์และเล่มเกมส์ รวมกันวันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปสร้างแรงจูงใจ และฝึกวินัยในการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย ให้คำชมเชยเมื่อทำได้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการตำหนิ การลงโทษพ่อแม่และครอบครัวเป็นแบบอย่างของการมีสุขนิสัยที่ดี ในการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  

ภาวะโรคเครียดในเด็ก

ผู้ใหญ่หลายคนอาจกำลังคิดว่าเป็นเด็กจะมีเรื่องเครียดอะไร แต่เชื่อเถอะ เด็กเองก็มีความเครียดไม่ต่างจากผู้ใหญ่อย่างเราๆ เพราะความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่เด็กเล็กๆ

การป้องกันปัญหาความเครียดในเด็ก สามารถแก้ไขได้หากต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ในการจัดการกับความเครียดของตนเอง เพื่อสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหากเด็กมีความเครียดสะสมในระดับที่มากเกินไป จะส่งผลกระทบทางด้านลบต่อปัญหาสุขภาพกายและจิตใจได้ สาเหตุที่ทำให้เด็กเครียดมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

สาเหตุของความเครียด มีด้วยกัน 2 สาเหตุ

1. ปัจจัยภายนอก

เช่น เรื่องการบ้าน ความขัดแย้งกันในครอบครัว การย้ายบ้าน เป็นต้น

2. ปัจจัยภายใน

ซึ่งเด็กบางคนมีนิสัยที่คิดมาก หรือวิตกกังวลในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้เกิดอารมณ์เครียดและเศร้าได้อย่างง่ายดาย

รู้อย่างนี้แล้ว เหล่าคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดู คอยสังเกตอาการของเจ้าตัวเล็กในบ้าน และคอยถามไถ่ถึงสิ่งที่เจ้าตัวเล็กในบ้านไปพบเจอมาในแต่ละวัน เพราะสิ่งที่ไม่เหมือนกันของเด็กและผู้ใหญ่ คือการแสดงออกที่ต่างกัน



X